1D Barcode (บาร์โค้ดแบบหนึ่งมิติ)
ลักษณะ : เป็นเส้นแนวตั้งสีดำและขาวเรียงกันในแนวนอน ตัวอย่างที่คุ้นเคย: บาร์โค้ดบนสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต
เก็บข้อมูลได้น้อย (ประมาณ 8–25 ตัวอักษร) เก็บได้แค่ตัวเลขหรือตัวอักษรธรรมดา
2D Barcode (บาร์โค้ดแบบสองมิติ)
ลักษณะ : มีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง (เหมือนตารางหรือจุด) ตัวอย่างที่คุ้นเคยและนิยมใช้โดยทั่วไป เช่น QR Code, PDF417 ค่ะ
2D Barcode จะเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1D Barcode ค่ะ โดยเก็บข้อมูลได้มากตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันตัวอักษร
รวมถึง รองรับข้อมูลทั้งตัวอักษร ตัวเลข และแม้แต่รูปภาพ/ลิงก์ URL ค่ะ
ริบบอน (RIBBON )คือหมึกสำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดค่ะ มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ และที่ใช้งานโดยทั่วไปจะเป็นสีดำ มีสีอื่นๆบ้างเช่น แดง เขียว น้ำเงิน เป็นต้น รูปแบบเป็นม้วน สั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้ได้ค่ะ โดยขนาด จะอ้างอิงตามสเปคของเครื่องพิมพ์ที่ใช้งาน และความกว้างของสติ๊กเกอร์ที่ใช้ค่ะ ก่อนสั่งตัดควรตรวจสอบเครื่องพิมพ์ว่ารองรับขนาดเท่าไหร่ โดยริบบอนจะมีขนาดมาตรฐานที่เครื่องพิมพ์รองรับ และจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น
ขนาด 110x74 m. ขนาดแกน 0.5นิ้ว / แกนคู่
ขนาด 110x91 m. ขนาดแกน 0.5นิ้ว / แกนคู่
ขนาด 110x300 m. ขนาดแกน 1 นิ้ว / แกนเดี่ยว
ขนาด 110x450 m. ขนาดแกน 1 นิ้ว / แกนเดี่ยว
ตัวเลขด้านหน้า คือความกว้างของแผ่นริบบอน หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร ตัวเลขด้านหลังคือความยาวของริบบอน หน่วยวัดเป็นเมคร
ริบบอนที่ใช่โดยทั่วไป เป็น Flat head Ribbon และมีแยกย่อยเป็น 3 ประเภทได้แก่ Wax Ribbon, Wax Resin Ribbon, และ Resin Ribbon
การใช้งานริบบอน จะนำไปใช้พิมพ์ร่วมกับสติ๊กเกอร์ ผ่านเครื่องพิมพ์ที่รองรับการใส่ริบบอน การเลือกใช้สติ๊กเกอร์และริบบอนที่ถูกต้องจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะงาน Supply Chain เช่น ฉลากสินค้า, งานที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า และงานที่เกียวของกับระบบ Logistics เป็นต้น
ให้ตรวจสอบ 3 ประเด็นหลักๆ ดังนี้
ตรวจสอบประเภทเครื่องพิมพ์ : เครื่องพิมพ์ที่สามารถใส่ริบบอนได้ปัจจุบันจะมีระบบการพิมพ์ 2 แบบ ได้แก่ ระบบ Near Edge และระบบ Flat head ซึ่ง ริบบอนที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป จะเป็นระบบ Flat head กรณีที่ลูกค้าใช้เครืองพิมพ์ระบบ Near Edge ต้องสั่งซื้อริบบอนสำหรับเครื่องพิมพ์ Near Edge โดยเฉพาะ หากนำFlat head Ribbon ไปใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบ Near Edge ก็จะพบปัญหาหมึกเลอะ สามารถตรวจสอบระบบเครื่องพิมพ์ได้ในเอกสาร datasheet ของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น
ตรวจสอบการตั้งค่าของเครื่องพิมพ์ : กรณีที่พิมพ์แล้วหมึกเลอะ ให้ปรับการตั้งค่าการพิมพ์ในหัวข้อความเข้ม และ speed ของเครื่องพิมพ์ ให้เหมาะกับการพิมพ์ ช่วยลดปัญหาหมึกเลอะได้ค่ะ
ตรวจสอบประเภทของสติ๊กเกอร์และริบบอนที่ใช้ร่วมกัน :
- กรณีที่ใช้สติ๊กเกอร์ความร้อน ไม่ต้องใช้หมึกริบบอน แต่ถ้าหากใช้ริบบอนคู่กับสติ๊กเกอร์ความร้อน ก็สามารถพิมพ์ข้อความได้ และข้อความก็จะเข้มกว่าปกติ แต่ก็จะเปลืองหมึกค่ะ และถ้าตั้งค่าความเข้มไว้สูง อาจจะพบหมึกเลอะระหว่างพิมพ์ได้ค่ะ
- กรณีที่ใช้สติ๊กเกอร์ประเภทกระดาษ เช่น กึ่งมันกึ่งด้าน, ขาวมัน,ขาวด้าน หรือ Thermal Transfer แนะนำใช้คู่กับริบบอน Wax
- กรณีที่ใช้สติ๊กเกอร์ประเภทฟิล์ม เช่น PET, PE,PO, YUPO,PP แนะนำใช้คู่กับริบบอน WAX - RESIN หรือ RESIN ขึ้นอยู่กับ PROCESS การนำสติ๊กเกอร์ไปใช้
เครื่องพิมพ์ที่ใช้ไปในระยะเวลาหนึ่งอาจจะมีอาการ ERROR ขึ้นได้ ส่งผลให้ระยะการพิมพ์เคลื่อนจากเดิม วิธีแก้ไขเบื้องต้น
ใช้ได้ค่ะ มีหลายอุตสาหกรรมที่ใช้วัสดุประเภทกระดาษพิมพ์แทนสติ๊กเกอร์ค่ะ เช่นประดาษ Direct Thermal หนา 76 แกรม กระดาษปอนด์ หนา 100 แกรม หรือ 150 แกรม กระดาษปอนด์สามารถพิมพ์ร่วมกับริบบอน wax ได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ วัตถุดิบประเภทกระดาษจะมีราคาสูงกว่าวัตถุดิบกลุ่มสติ๊กเกอร์บางเนื้อหากเทียบกันที่ขนาดและจำนวนสั่งซื้อที่เท่ากันค่ะ
ตัวอย่างงานที่ใช้กระดาษกับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เช่น ตัวหนัง หรือตั๋วสำหรับเข้าชมสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
การเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดให้เหมาะกับการใช้งาน ควรดูจากหลายปัจจัย เพราะแต่ละรุ่นถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานแตกต่างกันไป เช่น ปริมาณการพิมพ์ ความละเอียด ชนิดของวัสดุที่ใช้พิมพ์หรือระบบการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เป็นต้น
✅ ปัจจัยเบื้องต้นในการเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
เครื่องพิมพ์ HPRT HT100 / HT300 /HT330 สามารถปรับความเร็วในการพิมพ์ให้เหมาะสมกับงานได้ มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และผู้ใช้งานสามารถปรับได้ ตามเมนูคำสั่งดังต่อไปนี้
เข้าเมนู control panal และไปที่เมนุ Devices and Printer และกดตามลำดับดังนี้
หลังจากเลือกปรับความเร็วแล้ว กดปุ่ม Apply และปุ่ม OK ตามลำดับ และทดลองสั่งพิมพ์งานได้เลยค่ะ
สติ๊กเกอร์ที่พิมพ์และนำไปใช้งานแล้วเปลี่ยนสี มักจะเป็นสติ๊กเกอร์ Direct Thermal ประเภท NON TOPCOAT ค่ะ